เมนู

คุกคามว่า ' ท่านถือตัวเท่าเทียม1กับพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานเถระ
ผู้เป็นเจ้าของพวกเรา' ไล่ให้หนีไปตกลงในเวจกุฎีแล้ว.

บุรพกรรมของพระโลฬุทายี


พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวก
เธอนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไร ?" เมื่อพวกภิกษุกราบทูลว่า " ด้วยเรื่อง
ชื่อนี้," จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น, แม้ในกาล
ก่อน โลฬุทายีนี้ ก็จมลงในหลุมคูถเหมือนกัน " ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีต
นิทานมา ตรัสชาดก2นี้ให้พิสดารว่า :-
"สหาย เรามี 4 เท้า, สหาย แม้ท่านก็มี 4 เท้า.
มาเถิด สีหะ ท่านจงกลับ, เพราะเหตุไรหนอ ท่าน
จึงกลัวแล้วหนีไป ? สุกร ท่านเป็นผู้ไม่สะอาด มีขน
เปื้อนด้วยของเน่า มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป; ถ้าท่านประสงค์
ต่อสู้, เราจะให้ความชนะแก่ท่าน นะสหาย"

ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " ราชสีห์ในกาลนั้นได้เป็นสารีบุตร, สุกรได้เป็น
โลฬุทายี."
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ
ทั้งหลาย โสฬุทายีเรียนธรรมมีประมาณน้อยแท้, อนึ่ง มิได้ทำการท่อง
เลย; การเรียนปริยัติอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ไม่ทำการท่องปริยัตินั้น เป็น
มลทินแท้" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-
1. ยคคฺคาหํ คณฺหสิ=ถือความเป็นคู่. 2. ขุ. ชา. ทุก. 27/51. อรรถกถา. 3/11.

4. อสชฺฌายมลา มนฺตา อนุฏฺฐานมลา ฆรา
มลํ วณฺณสฺส โกสชฺชํ ปมาโท รกฺขโต มลํ.

"มนต์ทั้งหลาย มีอันไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน, เรือน
มีความไม่หมั่นเป็นมลทิน, ความเกียจคร้าน เป็น
มลทินของผิวพรรณ, ความประมาท เป็นมลทินของ
ผู้รักษา."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสชฺฌายมลา เป็นต้น ความว่า
เพราะปริยัติหรือศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อบุคคลไม่ท่อง ไม่ประกอบ
เนือง ๆ ย่อมเสื่อมสูญ หรือไม่ปรากฏติดต่อกัน; ฉะนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า "อสชฺฌายมลา มนฺตา."
อนึ่ง เพราะชื่อว่าเรือนของบุคคลผู้อยู่ครองเรือน ลุกขึ้นเสร็จสรรพ
แล้วไม่ทำกิจ มีการซ่อมแซมเรือนที่ชำรุดเป็นต้น ย่อมพินาศ ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "อนุฏฺฐานมลา ฆรา."
เพราะกายของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต ผู้ไม่ทำการชำระสรีระ หรือ
การชำระบริขาร ด้วยอำนาจความเกียจคร้าน ย่อมมีผิวพรรณมัวหมอง;
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "มลํ วณฺณสฺส โกสชฺชํ."
อนึ่ง เพราะเมื่อบุคคลรักษาโคอยู่ หลับหรือเล่นเพลินด้วยอำนาจ
ความประมาท, โคเหล่านั้นย่อมถึงความพินาศ ด้วยเหตุมีวิ่งไปสู่ที่มิใช่ท่า
เป็นต้นบ้าง ด้วยอันตรายมีพาลมฤค1 และโจรเป็นต้นบ้าง ด้วยอำนาจการ
1. พาลมิค-เนื้อร้าย